คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑. ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
- พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ
คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
คำนมัสการพระอาจริยคุณ : ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
๒. ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย
๓. ลักษณะคำประพันธ์
คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
๓.๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
๓.๒ กาพย์ฉบัง ๑๖
กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็นกาพย์ที่นำมาแต่งคำนมัสการพระธรรมคุณและพระสังฆคุณมีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
๔. เนื้อเรื่อง
คำนมัสการพระพุทธคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธะสันดาน
ตัดมูลกิเลสมาร บ่มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคีบ่พันพัว สุวคนธะกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆะกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ลูกขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ยภาพนั้นนิรันดร ฯ
คำนมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
|
ธรรมะคือคุณากร
| |
ส่วนชอบสาธร
| |
|
ดุจดวงประทีปชัชวาล
| | | |
|
แห่งองค์พระศาสดาจารย์
| |
ส่องสัตว์สันดาน
| |
|
สว่างกระจ่างใจมล
| | | |
|
ธรรมใดนับโดยมรรคผล
| |
เป็นแปดพึงยล
| |
|
และเก้านับทั้งนฤพาน
| | | |
|
สมญาโลกอุดรพิสดาร
| |
อันลึกโอฬาร
| |
|
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
| | | |
|
อีกธรรมต้นทางครรไล
| |
นามขนานขานไข
| |
|
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
| | | |
|
คือทางดำเนินดุจครอง
| |
ให้ล่วงลุปอง
| |
|
ยังโลกอุดรโดยตรง
| | | |
|
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์
| |
นบธรรมจำนง
| |
|
ด้วยจิตและกายวาจาฯ
| | | |
|
คำนมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
|
สงฆ์ใดสาวกศาสดา
| |
รับปฏิบัติมา
| |
|
แต่องค์สมเด็จภควันต์
| |
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-
| |
|
ลุทางที่อัน
| |
ระงับและดับทุกข์ภัย
| |
|
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร
| |
| |
|
สะอาดและปราศมัวหมอง
| |
เหินห่างทางข้าศึกปอง
| |
|
บ มิลำพอง
| |
ด้วยกายและวาจาใจ
| |
|
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-
| |
ศาลแด่โลกัย
| |
|
และเกิดพิบูลย์พูนผล
| |
สมญาเอารสทศพล
| |
|
มีคุณอนนต์
| |
อเนกจะนับเหลือตรา
| |
|
ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา-
| |
พกทรงคุณา-
| |
|
นุคุณประดุจรำพัน
| |
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์
| |
|
พระไตรรัตน์อัน
| |
อุดมดิเรกนิรัติศัย
| |
|
จงช่วยขจัดโพยภัย
| |
อันตรายใดใด
| |
|
จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ
| |
| |
|
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ข้าขอนบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณ
คำนมัสการอาจริยคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
| | | |
|
อนึ่งข้าคำนับน้อม
| |
ต่อพระครูผู้การุณย์
| |
|
| | | | | |
|
|
โอบเอื้อและเจือจุน
| |
อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
| |
|
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ
| |
ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
| |
|
ชี้แจงและแบ่งปัน
| |
ขยายอรรถให้ชัดเจน
| |
|
จิตมากด้วยเมตตา
| |
และกรุณา บ เอียงเอน
| |
|
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์
| |
ให้ฉลาดและแหลมคม
| |
|
ขจัดเขลาบรรเทาโม
| |
หะจิตมืดที่งุนงม
| |
|
กังขา ณ อารมณ์
| |
ก็สว่างกระจ่างใจ
| |
|
คุณส่วนนี้ควรนับ
| |
ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
| |
|
ควรนึกและตรึกใน
| |
จิตน้อมนิยมชม
| |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น